ความเสี่ยง

คำแนะนำ

การพลัดตก
หกล้ม
(falls)และการ
ชนกระแทก
(struck)

•  เด็กวัยนี้จะวิ่งและปีนป่ายได้ ดังนั้น เด็กจะมีความเสี่ยงสูงต่อการตกบันไดหกล้มชนกระแทก
•  ราวบันไดและระเบียงต้องมีช่องห่างไม่มากพอที่เด็กจะรอดได้
•  หน้าต่างต้องอยู่สูงพอที่เด็กจะปีนป่ายเองไม่ได้
•  เฟอร์นิเจอร์เช่นโต๊ะ ตู้ ต้องไม่มีมุมคม หากมีควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมขอบทุกมุม
•  ตู้วางของต่างๆต้องวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่ายเมื่อเด็กโหน หรือปีนป่าย หากไม่แน่ใจว่าตู้อยู่ในสภาพที่มั่นคงให้ยึดติดตู้ด้วยสายยึดกับกำแพง
•  ใช้อุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบมือ
• หมั่นตรวจสอบประตูรั้วบ้านโดยเฉพาะประตูอัลลอยด์ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนัก มากว่ามีความมั่นคงหรือไม่ประตูนี้อาจหลุดจากรางและล้มทับเด็กได้ง่ายหาก เด็กปีนป่าย
• นอกจากในบ้านแล้วเด็กวัยนี้จะวิ่งเล่นในละแวกบ้านด้วยดังนั้นการสำรวจและ แก้ไขจุดอันตรายในชุมชนเช่นท่อระบายน้ำที่เปิดฝาไว้โครงสร้างที่มีความแหลม คมและขวางทางเดินหรือวิ่งของเด็ก พื้น
สนามเด็กเล่นที่แข็ง หรือเครื่องเล่นสนามที่ชำรุด
• พื้นสนามเด็กเล่นที่ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของสมองจากการ
ตกจากเครื่องเล่นคือพื้นยางสังเคราะห์ หรือพื้นทรายที่ลึก 20 ซม . ขึ้นไป)หากเด็กตกจากที่สูง และได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ควรปรึกษาแพทย์

การบาดเจ็บที่ตา ( eye injuries )

ไม่ควรให้ เด็กเล่นของเล่นชนิดปืนที่มีลูกกระสุนชนิดต่างๆเช่นปืนอัดลม ปืนลูกดอก หรือธนูชนิด เพราะอาจทำให้เกิดการกระแทกลูกตาและมีเลือดออกในช่องตาได้

การจมน้ำ
(drowning)

•  เด็กวัยนี้ต้องระวังการจมน้ำจากการเล่นน้ำในอ่างอาบน้ำ สระว่ายน้ำ หรือการวิ่งเล่นใกล้แหล่งน้ำเช่นสระน้ำ คลอง บ่อ ดังนั้นต้องกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านและละแวกบ้าน หรือกั้นรั้ว กั้นประตูไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำได้
•  ร้อยละ 37 ของเด็กที่จมน้ำเสียชีวิตเกิดในเด็กเล็กและมีผู้ดูแลเด็กรับผิดชอบอยู่ แต่ผู้ดูแลเด็กเผลอชั่วขณะเช่นเดินไปล้างจาน ตากผ้า รับโทรศัพท์ หรืองีบหลับดังนั้นในสิ่งแวดล้อมที่มีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเข้าถึงได้ ผู้ดูแลเด็กต้องเฝ้าดูตลอดเวลา ห้ามเผลอแม้เพียงชั่วขณะ
•  อายุ 2 ปี สามารถสอนเลี้ยงตัวเมื่อตกน้ำ เพื่อให้โผล่พ้นน้ำชั่วขณะ ( water recovery ) และสอนให้ว่ายน้ำระยะสั้นๆเพื่อให้ตะกายเข้าฝั่งได้ การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีคือการผายปอดด้วยวิธีเป่าปากในกรณีที่ผู้จมน้ำไม่ หายใจเอง สำหรับการอุ้มพาดบ่า กระโดดหรือวิ่งรอบสนาม หรือวางบนกะทะคว่ำแล้วรีดน้ำออก ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องและจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น

การอุดตันทาง
เดินหายใจ
(suffocation)

•  ไม่ควรให้เด็กเล่นของเล่นที่มีขนาดเล็กกว่าทรงกระบอกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.17 ซม . และความยาว 5.71 ซม . เพราะของเล่นขนาดนี้อาจทำให้สำลักอุดตันทางเดินหายใจได้
•  สอนเด็กไม่ให้วิ่ง หรือหัวเราะขณะกินอาหาร ผู้ดูแลเด็กควรได้รับการฝึกการช่วยชีวิตเด็กเมื่อเกิดการอุดตันทางเดินหายใจ

ความร้อนลวก
( burn ) และ
อันตราย
จากไฟฟ้า
(electrical
hazard)

•  อย่าวางภาชนะบรรจุน้ำร้อนบนพื้นเช่น หม้อน้ำแกง เด็กอาจสะดุดล้มลงในน้ำร้อนและมีอาการบาดเจ็บรุนแรงได้
•  ห้องครัวเป็นจุดอันตราย ควรมีประตูกั้นเพื่อมิให้เด็กเข้าไปในบริเวณนั้นได้ โดยเฉพาะในเวลาที่มีการทำอาหารหรือต้มน้ำอยู่
•  หากเด็กได้รับบาดเจ็บจากความร้อนลวก ให้ใช้น้ำเย็นหรือน้ำประปาสะอาดแช่หรือล้างบาดแผลเพื่อลดความร้อนลง จนเด็กหยุดร้องจากความเจ็บปวด หลังจากนั้นใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลก่อนนำส่งพบแพทย์ ห้ามทาบาดแผลด้วยน้ำปลา หรือยาสีฟัน เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
•  เพื่อป้องกันการไฟไหม้ ควรติดตั้งเครื่องจับควันเพื่อเตือนภัยเมื่อมีควันไฟเกิดขึ้น ผู้ติดตั้งควรตรวจสอบแบตเตอรี่ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
•  ติดตั้งปลั๊กไฟสูง 1.5 เมตร เพื่อไม่ให้เด็กเล่นได้
•  ต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าได้เช่นตู้แช่แข็ง ตู้กดน้ำดื่ม
•  ต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อเกิดการลัดวงจร

สัตว์กัด
(animal bites)

• สอนเด็กไม่ให้เล่นกับสุนัขจรจัดสุนัขเลี้ยงที่ไม่รู้จักและลูกสุนัขแรกaเกิดที่มีแม่อยู่ด้วย
•  สอนเด็กไม่ให้รังแกสัตว์เช่นดึงหู ดึงหาง แย่งจานอาหาร ของเล่นของสัตว์
•  ไม่ปล่อยให้เด็กทารกอยู่ตามลำพังกับสุนัข
• ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขเลี้ยง

อุบัติเหตุจราจร
(traffic injuries)

•  การโดยสารรถยนต์อย่างปลอดภัยควรใช้ที่นั่งสำหรับเด็ก 1-4 ปี โดยติดตั้งบนที่นั่งด้านหลังรถ การนั่งเบาะหลังจะลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงลง 5 เท่า
•  สำหรับรถปิกอัพให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับและห้ามใช้ถุงลมในที่นั่งด้าน ข้างคนขับเพราะถุงลมที่กางออกขณะเกิดอุบัติเหตุนั้นจะทำให้เด็กได้รับบาด เจ็บได้
•  อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียว ความร้อนภายในรถจะทำให้เกิดอันตรายได้
•  ก่อนถอยหลังรถออกจากบ้าน หรือในเขตชุมชน ให้สำรวจหลังรถก่อนว่ามีเด็กเล็กซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากกระจกส่องหลัง อยู่หรือไม่
•  ควรหลีกเลี่ยงการโดยสารรถจักรยานยนต์ หากจำเป็นจะต้องใส่หมวกนิรภัยที่มีขนาดเหมาะสมกับอายุเสมอ
•  เด็กที่โดยสารรถจักรยาน ควรมีที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก โดยที่นั่งนี้ยึดติดกับรถจักรยานอย่างแข็งแรง มีเข็มขัดยึดเด็กติดกับที่นั่ง มีที่วางเท้าเพื่อป้องกันเท้าเข้าซี่ล้อ และเด็กควรสวมใส่หมวกนิรภัย
•  ไม่ให้เด็กถีบสามล้อหรือจักรยาน หรือวิ่งเล่นบนถนน หรือบนทางเท้า

สารพิษ (poisoning)

•  เด็กวัยนี้ สามารถปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้เพื่อฝาปิดแบบปลอดภัยสำหรับเด็ก ( child proof cap )
•  หากเด็กกินสารพิษ ให้ติดต่อศูนย์พิษวิทยาหมายเลข 022011083, 022468282 เพื่อขอรับคำแนะนำในการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี

 

 

ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ขอขอบคุณ : http://www.csip.org

STEM แนวทางการศึกษาสำหรับเด็กในวันนี้

รู้จักกับแนวทางการศึกษาที่ผนวกความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, คณิตศาสตร์ และ การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในโลกยุคใหม่ click! ที่นี่

คัดลายมือแบบกำหนดเอง ไทย-อังกฤษ

ลีลามือ คัดลายมือแบบกำหนดเองคัดลายมือแบบกำหนดเอง รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กำหนดเป็นชื่อเด็ก ชื่อคุณพ่อคุณแม่ เพิ่มความน่าสนใจให้เด็ก ๆ ฝึกฝนการเขียนได้อย่างสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาทักษะการเขียนและการจับดินสอให้ถูกต้อง

แนะนำ สิ่งที่น่าสนใจ

เกมคิดราคาอาหารร้าน fast foodมาฝึกบวกเลขไปกับเกมสนุก ๆ ในร้านฟาสต์ฟู้ด! กับการคิดราคาชุดอาหารสุดอร่อย พร้อมเสริมทักษะคณิตศาสตร์ไปในตัว เด็ก ๆ จะสนุกกับการคำนวณและรู้สึกเหมือนเป็นมือโปร! click! ที่นี่