JSTP ชื่อเต็มว่า "โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน" หรือ Junior Science Talent Project เป็นโครงการเพื่อสร้างนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพให้ประเทศชาติ โดยจะเฟ้นหาเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษ ทางวิทยาศาสตร ์ และเด็กที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย ชั้นละประมาณ 100 คน/ปี เพื่อเข้าโครงการระยะสั้น 1 ปี และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 1 ปีแล้ว คณาจารย์จะคัดเลือกเด็กประมาณ 5 คน เข้าโครงการระยะยาว | ||
เด็กที่ได้รับคัดเลือก เข้าโครงการ 1 ปี โอกาสที่ได้รับ คือ
Science Camps ได้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบค่ายเสริมประสบการณ์ ปีละ 3-4 ครั้ง
Science Projects การฝึกทำวิจัยในห้องปฎิบัตการตามหัวข้อที่สนใจ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวน 5,000 บาท/คน การฝึกอบรมความรู้ต่างๆที่หลากหลาย โดยจะมีนักวิทยาศาสตร์ พี่เลี้ยง ที่เป็นอาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัยต่างๆ คอยแนะนำ ชี้แนะเพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัยคุณภาพของประเทศต่อไปในอนาคต
สิทธิพิเศษต่างๆ เช่นรับข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเข้าร่วมกิจกรรมของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
เด็กที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ ระยะยาว โอกาสที่ได้รับ คือ
ฝึกการทำงานวิจัย,ค่าย ทุกๆปีเหมือนทุนระยะสั้น
ได้รับทุนการศึกษาและทุนวิจัยจนจบปริญญาเอกในประเทศ โดยไม่ผูกพันการรับทุน
สิทธิพิเศษต่างๆ เช่นรับข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเข้าร่วมกิจกรรมของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
"เราไม่ต้องการเด็กที่ตอบข้อสอบเก่ง แต่เราต้องการเด็กที่คิดเก่ง เพราะการคิดนอกกรอบเท่านั้นที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าขึ้น" ได้ฟังประโยคนี้จากอาจารย์แล้วน้ำตาจิไหล
อยากเข้าโครงการทำอย่างๆไร?
นักเรียนชั้นมัธยมทุกคนที่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์ หรืออยากเป็นนักวิทยาศาสตร์สามารถส่งใบสมัครได้ค่ะ
JSTP เปิดรับสมัครช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี สามารถ Print ใบสมัครได้ที่ www.jstp.org
เมื่อครั้งพาลูกไปเข้าค่ายถนนนักวิจัยรุ่นเยาว์ เขาจัดห้องให้ผู้ปกครองได้เข้าประชุมด้วยโดยมี นักวิจัย สวทช. และ JSTP รุ่นพี่ มาแนะนำโครงการ และบอกเล่าบรรยากาศของครอบครัว JSTP ซึ่งรุ่นพี่และนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงจะดูแลรุ่นน้องต่อกันเป็นทอดๆ รุ่นพี่(ขู่)บอกว่าใบสมัครโครงการหนามาก เห็นแล้วน้องๆอย่าตกใจนะขอให้ลองสมัครดู (เหมือนจะให้เตรียมใจก่อน) แม่ได้ฟังแล้วก็แอบฝันอยากให้ลูกได้เข้าโครงการ
แต่..ถ้าใบสมัครมันโหดขนาดนั้น ด.ช.กานต์ ลูกแม่จะยอมกรอกจนเสร็จไหมหนอ
อาชีพนักวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในอาชีพที่กานต์สนใจ แต่เป้าหมายยังไม่ชัดเจน จึงอยากลองสมัครเข้าโครงการ เผื่อได้รับคัดเลือกจะได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงาน และทำงานวิจัยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จริงๆ จะได้รู้ตัวเองว่าทางสายนี้้มันใช่ สำหรับเขาหรือไม่
พอได้เห็นใบสมัครของจริง อืม...
มานไม่ใช่แค่หนาเท่านั้น แต่คำถามมัน..ใช้คำว่าอะไรดี สร้างสรรมาก แหวกแนวมาก ติสส์มาก ประมาณนั้น ไม่เป็นไรทำไปพักไป มีเวลา 1 เดือนใบสมัครเป็นแบบไหนอยากเห็นแล้วใช่มั้ยล่ะ เดี๋ยวจะเอาตัวอย่างคำถามมาให้ดูบางส่วนนะคะ
ใบสมัครส่วนที่ 1-2 จะเป็นข้อมูลประวัติส่วนตัว และ เกรดของนักเรียน ย้อนหลัง 3 ปี นับจากชั้นปัจจุบันของเรา ก็จะมีคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และผลการเรียนเฉลี่ยรวมทุกวิชา ...อ๊ะๆห้ามมั่วอ่ะ เพราต้องแนบสำเนาหลักฐานทุกอย่างประกอบใบสมัครด้วย
ส่วนที่ 3 เรื่องการเรียนพิเศษและกิจกรรมในเวลาว่าง
ส่วนที่ 4 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่เคยทำ ค่าย โครงงาน ฯลฯ แนบหลักฐานอีกเช่นกัน อาจเป็นรูปถ่าย ใบประกาศนียบัตร เป้นต้น
ส่วนที่ 5 คำถามทางวิทยาศาสตร์ ...ของจริงเริ่มแล้ว
เป็นไงบ้างคะเด็กๆ อ่านคำถามแล้วรู้สึกยังไงบ้าง ต้องบีบคั้นกลั่นความคิดและจินตนาการขั้นสุดกันเลยทีเดียว :
ใครตอบว่าอะไรลอง post มาแชร์กันดูค่ะ
ข้อนี้ละ ตอบอะไรดี!! ขอหลับแพร็บ
และส่วนที่ 6 ก็สำคัญไม่น้อย ให้เขียนโครงงานที่เราสนใจจะทำ ซึ่งหากได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการก็จะได้ลงมือทำจริงๆ ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง(Mentor)ประจำตัว ในงบ 5,000 บาท เจ๋งป่ะล่ะ ซึ่งอาจารย์หรือนักวิจัยที่เสียสละมาเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้เด็กๆนั้น จะเป็นผู้ที่ถ่ายทอดเก่ง มีเวลาให้คำปรึกษาแนะนำเด็ก เรียกว่าท่านตั้งใจทำงานนี้เพื่อพัฒนาชาติจริงๆ
เมื่อกรอกใบสมัคร ตรวจทานจนพอใจแล้ว อย่าเพิ่งส่งใบสมัครไปนะ!! ให้ถ่ายเอกสารไว้ก่อน เดี๋ยวจะลืมว่าตัวเอง"แถ" อะไรไวบ้าง เพราะตอนสัมภาษณ์ อาจารย์ก็จะถามเรื่องที่เราโม้ไว้ในใบสมัครนั่นด้วยจร้า
เมื่อเขียนใบสมัครและแทรกหลักฐานเอกสารแนบต่างๆพร้อมก็เย็บเล่ม (มีความหนาเท่าๆกับรายงานฉบับย่อมๆเลยทีเดียว) ส่งไปรษรีย์ไปที่ สวทช. เลขที่ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย......... ตามที่อยู่ท้ายใบสมัครให้ทันภายในวันที่ 30 ธันวาคมค่ะ จากนั้นก็นั่งรอ..นอนรอ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าไปในรอบสัมภาษณ์ต่อไป
ดูประกาศรายชื่อและสถานที่สัมภาษณ์ ได้ที่ JSTP
กรุงเทพ-ภาคกลาง จะไปสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด
ภาคเหนือ จะไปสัมภาษณ์ที่ พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย
ภาตใต้ จะไปสัมภาษณ์ที่ นครศรีธรรมราช สงขลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะไปสัมภาษณ์ที่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด อุดนธานี
เด็กหลายคนถอดใจไปตั้งแต่เห็นใบสมัครแล้ว มีเสียงบ่นพึมว่าทำไมต้องยากและเยอะขนาดเน้!! ก็น่าจะเป็นเพราะทางกรรมการอยากจะรู้จักตัวตนของผู้สมัครครบทุกมุม และโครงการนี้ก็ไม่มีการทดสอบใดๆ คัดเด็กจากใบสมัครเลย มีคนเล่าว่าทางโครงการจะมีคณะกรรมการพิจารณาใบสมัคร 3 ท่าน/ใบ ดูแล้วดูอีกและโหวตว่าจะได้ไปต่อหรือไม่ เหมือน The Star กันเลย | ||
ในวันสัมภาษณ์ ระดับม.ต้น จะมีอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ 3 ท่านเช่นกัน ในระดับม.ปลาย จำนวนอาจารย์อาจจะมากกว่านี้และต้องมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เด็กเลือกเข้าร่วมสัมภาษณ์ด้วย เพราะน้องม.ปลาย เริ่มมีความชัดเจนในแนวทางของตัวเองแล้วว่าสนใจเรื่องอะไร
JSTP ม.ปลาย จะแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆเช่น วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา-เกษตร คอมพิวเตอร์
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับสัมภาษณ์ JSTP ระดับ ม.ต้น รุ่นที่ 19 น้องกานต์ได้ไปต่อ เย้ เย้
ก็เตรียมตัวนิดหน่อยโดยเอาใบสมัครมาอ่านทวน
การสัมภาษณ์จะกำหนดช่วงเวลาเอาไว้ชัดเจน ว่าใครได้เวลากี่โมง ตามนั้นเป๊ะๆค่ะห้ามสาย กลุ่มแรกเริ่มเวลา 7.30 น.
ของกานต์ได้ 8.30 น. ค่อยยังชั่ว เมื่อไปถึง เข้าประตู1 ฝั่งถนนประชาอุทิศ รปภ.ก็โบกขึ้นอาคารจอดรถที่อยู่ทางซ้ายเลย ตึกที่สัมภาษณ์อยู่ติดกันหาง่าย (อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มูลนิธิไทยคม ชั้น 11)
เมื่อขึ้นไปถึงลงทะเบียนแล้วนั่งดู VDO. เกี่ยวกับโครงการสักพัก
กลุ่มที่ 1 ก็ถูกเรียกเข้าไป ซึ่งจะมี 2 ขั้นตอน คือทำโจทย์ประมาณ 5 ข้อประมาณ 30 นาที แล้วก็เข้าสัมภาษณ์อีกคนละ 30 นาที
คำถามก็มาระดับเทพอีกแล้วครับพี่น้อง คราวนี้เทพของจริงเลย เป็นเรื่องตุ๊กตาลูกเทพ!!!
ผลรอบนี้จะออกมาเป็นยังไงก็รอลุ้นกันต่อไปค่ะ ถ้าได้ไปต่อจะมาเล่าให้ฟัง ถ้าโดนโหวตออกก็ขอจบกระทู้ไว้เพียงเท่านี้
ประกาศผลนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ JSTP ม.ต้น รุ่น 19 ออกแล้ว
ปรากฏว่ากานต์ได้รับคัดเลือก ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว JSTP แล้ว ก็บอกลูกให้ใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าที่สุดค่ะ
ปีนี้จากใบสมัคร 600 กว่าใบผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ 245 คนทั่วประเทศ และผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ 61 คน ซึ่งก็ปะปนกันทั้ง ม.1,2 และ 3
การประกาศผล มี 3 ช่องทาง
1. ประกาศผลผ่านเว็บ JSTP ของ สวทช.
2. โครงการจะแจ้งผลไปที่ e-mail ของนักเรียนที่ให้ไว้ในใบสมัคร
3. สวทช. ส่งจดหมายแจ้งไปที่บ้านนักเรียน
เด็กๆจะได้เข้าค่ายแรกประมาณ 2-7 พ.ค.59 ค่ะ