เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities - LD) โดย อทิตา หมีวรรณ *นักการศึกษาพิเศษประจำศูนย์ฯ Smartkids เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป สาเหตุ การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD มีความบกพร่องทางการพูด มีความบกพร่องทางการสื่อสาร มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์ มีความบกพร่องทางการรับรู้ มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว มีอารมณ์ไม่คงที โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่ มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน การบกพร่องทางการอ่าน จำตัวอักษรไม่ได้ จำตัวอักษรได้แต่อ่านเป็นคำไม่ได้ ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเดียวกัน ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์ เข้าใจภาษาได้ดีหากได้ฟังหรือมีคนอ่านให้ฟัง อ่านคำโดยสลับตัวอักษร ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน/หลัง เด็กบางคนมีความไวในการฟัง เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา มีความยากลำบากในการจำรูปพยัญชนะและการอ่านพยัญชนะ มีความยากลำบากในการแยกแยะเสียง เช่น การแยกแยะเสียง บ ป พ มีความยากลำบากในการจำรูปสระและการอ่านสระ การออกเสียงคำไม่ชัด หรือ ไม่ออกเสียงบางเสียงบางครั้งออกเสียงรวบคำ ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำที่มีวรรณยุกต์กำกับการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น “ นก” เป็น “ กน” “ งาน” เป็น “ นาง” เป็นต้น ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับคำ ไม่สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่อ่านได้ จับข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
การบกพร่องทางการเขียน ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงบนสมุดได้ เขียนประโยคตามครูไม่ได้ ไม่สามารถแยกรูปทรงทางเรขาคณิตได้ เรียงคำไม่ถูกต้อง มีความยากลำบากในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เช่น เด็กจะลากเส้นวน ๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซ้ำ ๆ เขียนพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยมีลักษณะคล้ายกัน เช่น ค – ด , น – ม , พ – ผ , ๓ – ๗ , ๔ – ๕ เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก เขียนเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิด ตำแหน่ง เช่น “ ปลา” เป็น “ ปาล”“ หมู” เป็น “ หูม” “ กล้วย” เป็น “ ก้ลวย” เขียนไม่ได้ใจความ เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด เขียนไม่ตรงบรรทัด เขียนต่ำหรือเหนือเส้น ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบกระดาษ ไม่เว้นช่องไฟ จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนตัวหนังสือตัวโต การบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ มีปัญหาในการบอกความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป ทำเลขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบวก ลบ คูณ หาร เพียงอย่างเดียวหรือทั้ง 4 อย่าง ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลขที่นำมาเรียงกันทางคณิตศาสตร์ ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้ ไม่เข้าใจในการอ่านแผนและกราฟ มีปัญหาในการทำเลขโจทย์ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำตำแหน่ง เช่น จะไม่รู้ว่าเลข “ 3 ” ในจำนวนต่อไปนี้ 23 , 38 , 317 มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ คำแนะนำแก่ครูและผู้ปกครอง พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด แสดงความรักต่อเด็ก มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆ พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่า เด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดี ๆ ในตนเองเหมือนกัน มีความคาดหวังที่เหมาะสม เมื่อเด็กทำผิด เช่น เขียนผิด อ่านผิด จงอย่าบ่น ช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน อ่านหนังสือสนุกๆ กับเด็ก กระตุ้นให้เด็กถามคำถาม เล่าเรื่อง และแสดงความคิดเห็น
ขอขอบคุณ: http://www.iamsmartkids.com | ||
- บทความวิชาการ และทั่วไป
- การเรียน & การพัฒนา
- เข้าชม (ครั้ง): 1090