JSTP คืออะไร?

JSTP ชื่อเต็มว่า "โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน" หรือ Junior Science Talent Project

เป็นโครงการเพื่อสร้างนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพให้ประเทศชาติ โดยจะเฟ้นหาเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษ ทางวิทยาศาสตร ์ และเด็กที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย ชั้นละประมาณ 100 คน/ปี เพื่อเข้าโครงการระยะสั้น 1 ปี และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 1 ปีแล้ว คณาจารย์จะคัดเลือกเด็กประมาณ 5 คน เข้าโครงการระยะยาว


เด็กที่ได้รับคัดเลือก เข้าโครงการ 1 ปี โอกาสที่ได้รับ คือ
Science Camps ได้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบค่ายเสริมประสบการณ์ ปีละ 3-4 ครั้ง 
Science Projects การฝึกทำวิจัยในห้องปฎิบัตการตามหัวข้อที่สนใจ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวน 5,000 บาท/คน การฝึกอบรมความรู้ต่างๆที่หลากหลาย โดยจะมีนักวิทยาศาสตร์ พี่เลี้ยง ที่เป็นอาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัยต่างๆ คอยแนะนำ ชี้แนะเพื่อก้าวสู่การเป็นนักวิจัยคุณภาพของประเทศต่อไปในอนาคต
สิทธิพิเศษต่างๆ เช่นรับข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเข้าร่วมกิจกรรมของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

เด็กที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ ระยะยาว โอกาสที่ได้รับ คือ
ฝึกการทำงานวิจัย,ค่าย ทุกๆปีเหมือนทุนระยะสั้น
ได้รับทุนการศึกษาและทุนวิจัยจนจบปริญญาเอกในประเทศ โดยไม่ผูกพันการรับทุน
สิทธิพิเศษต่างๆ เช่นรับข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเข้าร่วมกิจกรรมของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

"เราไม่ต้องการเด็กที่ตอบข้อสอบเก่ง แต่เราต้องการเด็กที่คิดเก่ง เพราะการคิดนอกกรอบเท่านั้นที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าขึ้น" ได้ฟังประโยคนี้จากอาจารย์แล้วน้ำตาจิไหล

อยากเข้าโครงการทำอย่างๆไร?
นักเรียนชั้นมัธยมทุกคนที่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์ หรืออยากเป็นนักวิทยาศาสตร์สามารถส่งใบสมัครได้ค่ะ
JSTP เปิดรับสมัครช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปี สามารถ Print ใบสมัครได้ที่ www.jstp.org 

เมื่อครั้งพาลูกไปเข้าค่ายถนนนักวิจัยรุ่นเยาว์ เขาจัดห้องให้ผู้ปกครองได้เข้าประชุมด้วยโดยมี นักวิจัย สวทช. และ JSTP รุ่นพี่ มาแนะนำโครงการ และบอกเล่าบรรยากาศของครอบครัว JSTP ซึ่งรุ่นพี่และนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงจะดูแลรุ่นน้องต่อกันเป็นทอดๆ รุ่นพี่(ขู่)บอกว่าใบสมัครโครงการหนามาก เห็นแล้วน้องๆอย่าตกใจนะขอให้ลองสมัครดู (เหมือนจะให้เตรียมใจก่อน) แม่ได้ฟังแล้วก็แอบฝันอยากให้ลูกได้เข้าโครงการ
แต่..ถ้าใบสมัครมันโหดขนาดนั้น ด.ช.กานต์ ลูกแม่จะยอมกรอกจนเสร็จไหมหนอ

อาชีพนักวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในอาชีพที่กานต์สนใจ แต่เป้าหมายยังไม่ชัดเจน จึงอยากลองสมัครเข้าโครงการ เผื่อได้รับคัดเลือกจะได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงาน และทำงานวิจัยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จริงๆ จะได้รู้ตัวเองว่าทางสายนี้้มันใช่ สำหรับเขาหรือไม่

พอได้เห็นใบสมัครของจริง อืม...
มานไม่ใช่แค่หนาเท่านั้น แต่คำถามมัน..ใช้คำว่าอะไรดี สร้างสรรมาก แหวกแนวมาก ติสส์มาก ประมาณนั้น ไม่เป็นไรทำไปพักไป มีเวลา 1 เดือนใบสมัครเป็นแบบไหนอยากเห็นแล้วใช่มั้ยล่ะ เดี๋ยวจะเอาตัวอย่างคำถามมาให้ดูบางส่วนนะคะ

ใบสมัครส่วนที่ 1-2 จะเป็นข้อมูลประวัติส่วนตัว และ เกรดของนักเรียน ย้อนหลัง 3 ปี นับจากชั้นปัจจุบันของเรา ก็จะมีคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และผลการเรียนเฉลี่ยรวมทุกวิชา ...อ๊ะๆห้ามมั่วอ่ะ เพราต้องแนบสำเนาหลักฐานทุกอย่างประกอบใบสมัครด้วย

ส่วนที่ 3 เรื่องการเรียนพิเศษและกิจกรรมในเวลาว่าง

ส่วนที่ 4 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่เคยทำ ค่าย โครงงาน ฯลฯ แนบหลักฐานอีกเช่นกัน อาจเป็นรูปถ่าย ใบประกาศนียบัตร เป้นต้น

 

ส่วนที่ 5 คำถามทางวิทยาศาสตร์ ...ของจริงเริ่มแล้ว

เป็นไงบ้างคะเด็กๆ อ่านคำถามแล้วรู้สึกยังไงบ้าง ต้องบีบคั้นกลั่นความคิดและจินตนาการขั้นสุดกันเลยทีเดียว :scare: :
ใครตอบว่าอะไรลอง post มาแชร์กันดูค่ะ

 

ข้อนี้ละ ตอบอะไรดี!! :zzz: ขอหลับแพร็บ

 

และส่วนที่ 6 ก็สำคัญไม่น้อย ให้เขียนโครงงานที่เราสนใจจะทำ ซึ่งหากได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการก็จะได้ลงมือทำจริงๆ ภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง(Mentor)ประจำตัว ในงบ 5,000 บาท เจ๋งป่ะล่ะ ซึ่งอาจารย์หรือนักวิจัยที่เสียสละมาเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้เด็กๆนั้น จะเป็นผู้ที่ถ่ายทอดเก่ง มีเวลาให้คำปรึกษาแนะนำเด็ก เรียกว่าท่านตั้งใจทำงานนี้เพื่อพัฒนาชาติจริงๆ

เมื่อกรอกใบสมัคร ตรวจทานจนพอใจแล้ว อย่าเพิ่งส่งใบสมัครไปนะ!! ให้ถ่ายเอกสารไว้ก่อน เดี๋ยวจะลืมว่าตัวเอง"แถ" อะไรไวบ้าง :blink::blink:  เพราะตอนสัมภาษณ์ อาจารย์ก็จะถามเรื่องที่เราโม้ไว้ในใบสมัครนั่นด้วยจร้า

เมื่อเขียนใบสมัครและแทรกหลักฐานเอกสารแนบต่างๆพร้อมก็เย็บเล่ม (มีความหนาเท่าๆกับรายงานฉบับย่อมๆเลยทีเดียว) ส่งไปรษรีย์ไปที่ สวทช. เลขที่ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย......... ตามที่อยู่ท้ายใบสมัครให้ทันภายในวันที่ 30 ธันวาคมค่ะ จากนั้นก็นั่งรอ..นอนรอ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าไปในรอบสัมภาษณ์ต่อไป

ดูประกาศรายชื่อและสถานที่สัมภาษณ์ ได้ที่ JSTP 
กรุงเทพ-ภาคกลาง จะไปสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมด
ภาคเหนือ จะไปสัมภาษณ์ที่ พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย
ภาตใต้ จะไปสัมภาษณ์ที่ นครศรีธรรมราช สงขลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะไปสัมภาษณ์ที่ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด อุดนธานี

เด็กหลายคนถอดใจไปตั้งแต่เห็นใบสมัครแล้ว :app: มีเสียงบ่นพึมว่าทำไมต้องยากและเยอะขนาดเน้!! :scare: ก็น่าจะเป็นเพราะทางกรรมการอยากจะรู้จักตัวตนของผู้สมัครครบทุกมุม และโครงการนี้ก็ไม่มีการทดสอบใดๆ คัดเด็กจากใบสมัครเลย

มีคนเล่าว่าทางโครงการจะมีคณะกรรมการพิจารณาใบสมัคร 3 ท่าน/ใบ ดูแล้วดูอีกและโหวตว่าจะได้ไปต่อหรือไม่ เหมือน The Star กันเลย

ในวันสัมภาษณ์ ระดับม.ต้น จะมีอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ 3 ท่านเช่นกัน ในระดับม.ปลาย จำนวนอาจารย์อาจจะมากกว่านี้และต้องมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เด็กเลือกเข้าร่วมสัมภาษณ์ด้วย เพราะน้องม.ปลาย เริ่มมีความชัดเจนในแนวทางของตัวเองแล้วว่าสนใจเรื่องอะไร

JSTP ม.ปลาย จะแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆเช่น วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา-เกษตร คอมพิวเตอร์

:):):):)
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับสัมภาษณ์ JSTP ระดับ ม.ต้น รุ่นที่ 19 น้องกานต์ได้ไปต่อ เย้ เย้ :cheers:::
ก็เตรียมตัวนิดหน่อยโดยเอาใบสมัครมาอ่านทวน

การสัมภาษณ์จะกำหนดช่วงเวลาเอาไว้ชัดเจน ว่าใครได้เวลากี่โมง ตามนั้นเป๊ะๆค่ะห้ามสาย กลุ่มแรกเริ่มเวลา 7.30 น.
ของกานต์ได้ 8.30 น. ค่อยยังชั่ว เมื่อไปถึง เข้าประตู1 ฝั่งถนนประชาอุทิศ รปภ.ก็โบกขึ้นอาคารจอดรถที่อยู่ทางซ้ายเลย ตึกที่สัมภาษณ์อยู่ติดกันหาง่าย (อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มูลนิธิไทยคม ชั้น 11)

เมื่อขึ้นไปถึงลงทะเบียนแล้วนั่งดู VDO. เกี่ยวกับโครงการสักพัก
กลุ่มที่ 1 ก็ถูกเรียกเข้าไป ซึ่งจะมี 2 ขั้นตอน คือทำโจทย์ประมาณ 5 ข้อประมาณ 30 นาที แล้วก็เข้าสัมภาษณ์อีกคนละ 30 นาที

คำถามก็มาระดับเทพอีกแล้วครับพี่น้อง คราวนี้เทพของจริงเลย เป็นเรื่องตุ๊กตาลูกเทพ!!!
ผลรอบนี้จะออกมาเป็นยังไงก็รอลุ้นกันต่อไปค่ะ ถ้าได้ไปต่อจะมาเล่าให้ฟัง ถ้าโดนโหวตออกก็ขอจบกระทู้ไว้เพียงเท่านี้ :cry:

ประกาศผลนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ JSTP ม.ต้น รุ่น 19 ออกแล้ว

:):)  ปรากฏว่ากานต์ได้รับคัดเลือก :ok::ok:  ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว JSTP แล้ว ก็บอกลูกให้ใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าที่สุดค่ะ

ปีนี้จากใบสมัคร 600 กว่าใบผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์ 245 คนทั่วประเทศ และผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ 61 คน ซึ่งก็ปะปนกันทั้ง ม.1,2 และ 3

การประกาศผล มี 3 ช่องทาง
1. ประกาศผลผ่านเว็บ JSTP ของ สวทช. 
2. โครงการจะแจ้งผลไปที่ e-mail ของนักเรียนที่ให้ไว้ในใบสมัคร
3. สวทช. ส่งจดหมายแจ้งไปที่บ้านนักเรียน

เด็กๆจะได้เข้าค่ายแรกประมาณ 2-7 พ.ค.59 ค่ะ