กินฟาส์ตฟูดทำให้เด็กกระดูกนิ่ม
จากการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นมีกระดูกอ่อน มีเนื้อกระดูกเพียง 60% ของที่ควรจะเป็น เพราะนิยมกินอาหารฟาสต์ฟูด รวมทั้งชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากกว่าการวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างเด็กสมัย ก่อน
อธิบดีกรมกาแพทย์ น.พ.เสรี ตู้จินดา เปิดเผยว่า ได้ศึกษาพบว่า เด็กวัยรุ่นอายุระหว่าง 12 - 13 ปี มีปริมาณเนื้อกระดูกเพียงร้อยละ 60 ของที่ควรจะเป็น แสดงว่า เด็กเหล่านี้มีปริมาณเนื้อกระดูกต่ำกว่าปกติ เนื่องจากเกวัยรุ่นปัจจุบันนิยมทานอาหารฟาสต์ฟูด อันเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ได้รับแคลเซียมน้อย อีกทั้งยังเล่นเกม หรือเล่นคอมพิวเตอร์แทนการวิ่งเล่นออกกำลังกายอย่างเด็กสมัยก่อน
ในรายการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน พศ. 2540 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังพบว่า การใช้เวลาว่างของเด็กอายุ 6 - 11 ขวบ สนใจเล่นกีฬาหรืออกกำลังกายเพียงร้อยละ 18.7 ส่วนเด็กวัยอายุระหว่าง 12 - 24 ปี จะใช้เวลาว่างในการฟังวิทยุ เทป สังสรรค์กับเพื่อน เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย และอ่านหนังสือ แต่เมื่อพิจารณาดูทั้งกลุ่ม ตั้งแต่อายุ 6 - 24 ปี พบว่า ส่วนใหญ่จะใช้เวลาว่างในการดูโทรทัศน์ หรือวิดีโอมากที่สุดถึงร้อยละ 87.5
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะวัยรุ่น จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน
- บทความวิชาการ และทั่วไป
- สุขภาพ & จิตวิทยาเด็ก
- เข้าชม (ครั้ง): 760