Robert Sylvester นักวิชาการด้านการเรียนรู้คนหนึ่ง กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “อารมณ์ทำให้เกิดความสนใจ และความสนใจทำให้เกิดการเรียนรู้ (Emotion drives attention, attention drive learning)” 3-4 ลักษณะ ได้แก่ อะไรที่ใหม่ๆ อะไรที่มีการเคลื่อนไหวอะไรที่มีแสงวูบวาบฉูดฉาด รวมทั้งอะไรที่แรงๆ เช่น กลิ่นแรงๆ เสียงดังๆ เป็นต้น
สิ่งเร้าที่มีคุณสมบัติแบบนี้จะดึงความสนใจของคนได้ดี ดังนั้นเราจะเห็นว่าบรรดาสื่อโฆษณาทั้งหลายพยายามทำให้สื่อดึงความสนใจของคน แต่คุณสมบัติของสิ่งเร้าหรือสื่อแบบนี้ดึงความสนใจของเราได้ชั่วคราว ถ้าหากเนื้อหาหรือเรื่องราวที่อยู่ภายในไม่มีความหมายหรือไม่มีความเกี่ยว ข้องกับเราเลย ฉะนั้นความหมายของสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีต่อตัวเราจึงเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสมาธิ การเรียนรู้ และความจำ ที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลทำให้เกิดการเรียนรู้และสมาธิได้มากที่สุด
คำถามคือเราจะประยุกต์ความรู้นี้กับการเรียนรู้ของลูกได้อย่างไร1 อย่างครับ เป็นอันว่าตอนนี้เราได้จุดที่จะเปิดไปสู่การเรียนรู้ และการพัฒนาสมาธิ รวมทั้งความจำของเขาแล้ว
ขั้นต่อไปคือ ทำให้ความสนใจนั้นแรงขึ้น ยาวนานขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติของพวก เขาให้ทำงานมากขึ้น วิธีการคือ ตั้งคำถาม ท้าทายให้แสวงหาคำตอบ หรือแม้แต่กระตุ้นให้เกิดความสงสัย ยิ่งเป็นคำถามปลายเปิดคำถามที่เจาะไปได้เรื่อยๆ ไม่มีจุดจบ ยิ่งเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเด็กๆ เราไม่เน้นคุณภาพของคำถามว่าจะมีเหตุผลหรือไม่ เพราะเรากำลังกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของพวกเขา
มาถึงขั้นตอนการสรุปความรู้ที่ได้จากการแสวงหา สิ่งที่พ่อแม่จะต้องทำก็คือ ให้ลูกสรุปสิ่งที่ได้มาด้วยตัวของเขาเอง อาจจะใช้การบันทึก การวาดเป็นรูป การทำเป็นเครื่องหมาย หรือแม้แต่การเล่าให้ฟังด้วยคำพูดของเขาเอง จะทำให้เด็กจำได้ดีกว่าไม่ต้องกลัวว่าลูกจะเรียนรู้ไปผิดๆ เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นครับ
ก่อนจะจบ ขอทบทวนให้สักนิดครับว่า การสร้างสมาธิและคุณภาพการเรียนรู้และความเข้าใจให้ลูกของเรานั้น ต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสนใจหรือประทับใจ แล้วทำให้เกิดคำถามกับสิ่งนั่น สนับสนุนให้เกิดการหาคำตอบอย่างไม่สิ้นสุดแล้วให้เขาสรุปผลที่ได้ด้วยตัวเขาเอง หากคำตอบหรือความรู้ที่ได้มายังไม่ถูกต้อง ก็สร้างวิธีการสอบทานคำตอบนั่น ด้วยการสร้างคำถามต่อคำตอบ DLP สูตร D สร้างลูกเก่ง หนังสือเครือรักลูก ที่ผมและ คุณเกษม ตั้งทรงศักดิ์ จากพิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร ช่วยกันเขียนขึ้น
ขอเอาใจช่วยคุณพ่อคุณแม่ทุกคนที่กำลังพยายามสร้างสมาธิและกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้กับลูกๆ ครับ
โดย : นายแพทย์ อุดม เพชรสังหาร
- บทความวิชาการ และทั่วไป
- การเรียน & การพัฒนา
- เข้าชม (ครั้ง): 1124