เสริมทักษะสู่ STEM

STEM เป็นหลักสูตรที่มีแนวความคิดในการให้ความรู้กับนักเรียนใน 4 สาขาวิชาให้สามารถประยุกต์เข้าด้วยกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต และการทำงาน แทนการสอนแยกออกจากกันอย่างไม่มีความต่อเนื่อง โดย 4 วิชาหลักนี้ คือ

S Science (วิทยาศาสตร์)

TTechnology (เทคโนโลยี)

E Engineer (วิศวกรรมศาสตร์)

M Math (คณิตศาสตร์)

 

พัฒนาลูกให้พร้อมสำหรับอาชีพสาย STEM

ปัจจุบันประเทศต้องการเน้นผลิตบุคคลากรใน 4 สายคือ วิทยาศาสตร์(S) เทคโนโลยี(T) วิศวกรรม(E) และคณิตศาสตร์(M) ให้มากขึ้น โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน เฟืองหลักของชาติในการทำงานนี้ก็คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์, สวทช. และสสวท. ซึ่งมีโครงการต่างๆเพื่อผลักดันเด็กๆมากมาย เช่น

{xtypo_list}

ตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ให้ทุนการศึกษา เรียนฟรีกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อาหาร-ที่พักฟรี น่าสนใจใช่ไหมคะ เช่น

จุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ขึ้น 12 โรงทั่วประเทศ (ม.ต้น-ม.ปลาย)

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ม.ปลาย)

มีการจัดค่ายดีๆ ฟรีๆ เช่น ค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพ, ค่ายนักวิจัยรุ่นเยาว์, ค่ายวิทยาศาตร์จุฬาภรณ์ และค่าย+ทุนวิจัยโครงการJSTP ม.ต้น, ม.ปลาย เป็นต้น

{/xtypo_list}


ในมุมของพ่อแม่ เราจะช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกพร้อมก้าวไปในเส้นทางสายนี้ได้อย่างไร คงไม่ใช่แค่ดื่มนมเหมือนในโฆษณาแน่ ๆ เราต้องเริ่มตั้งแต่อนุบาล โห!! เวอร์อะไรปานนั้น ไม่ใช่ส่งลูกไปเรียนพิเศษจ้า แต่ชวนมาเริ่มเล่นกับลูกเพื่อฝึกทักษะพัฒนาความคิดค่ะ งานนี้ใครเริ่มก่อนได้เปรียบ เพราะหลัง 6 ขวบสมองลูกเติบโตในอัตราลดลงเรื่อย ๆ ไม่ขอพูดถึงรายละเอียดการดูแลในช่วงเวลาทองคือวัยก่อนเรียนนะคะ เพราะลูก ๆ เว็บเราอยู่ในวัยประถมกันแล้ว ผ่านมาถึงวัยประถมก็ยังไม่สายเกินไปค่ะ ลงมือฝึกการคิดวิเคราะห์ คือ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล, ทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์, ทักษะการคิดออกแบบสิ่งประดิษฐ์, ทักษะการคิดแก้ปัญหาตลอดจนทักษะการตั้งคำถามและสืบค้นหาคำตอบ ให้ลูกกันดีกว่าซึ่งทักษะเหล่านี้หลายอย่างเราฝึกผ่านการเล่นได้ด้วยค่ะ เช่น

- เล่นหมากกระดานต่างๆ เช่น หมากรุก หมากฮอส โกะ เด็กต้องทำความเข้าใจกติกา คิดแก้ไขสถานการณ์ทางหนีทางรุก วิเคราะห์การเดินของคู่แข่ง คิดอย่างเป็นระบบและซับซ้อน
- เล่นชุดต่อเลโก ฝึกการทำงานของมือและตา เด็กมีการออกแบบ วางแผนใช้ชิ้นส่วนที่มีอยู่สร้างชิ้นงาน การแก้ปัญหา การคำนวณ สร้างจินตนาการ ยิ่งถ้าพ่อแม่มีโจทย์ให้ก็ยิ่งฝึกการออกแบบ เช่น ให้สร้างรถที่บรรทุกขวดยาคูล์ได้ สร้างหอคอยที่สูงกว่าไม้บรรทัด อะไรแบบนี้
- ประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ หรือชุดประดิษฐ์สำเร็จรูป ได้ฝึกการออกแบบ การดูแบบแปลน คิดแก้ปัญหา การทำงานของมือและตา
- เล่นเกม ห๊ะ!! ที่จริงมีเกมมากมายที่มีประโยชน์ ช่วยเสริมสร้าง logic (ตรรกะ) ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนคอมพิวเตอร์, ฝึกการคาดคะเน ระยะทาง ทิศทาง ความแรง ฝึกคำนวณ การวางแผน ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพสาย STEM
กลุ่มแพทย์
แพทย์ ทันตแพทย์ จิตแพทย์ ศัลยแพทย์ จุกษุแพทย์ สัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังษีเทคนิค พบายาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด

กลุ่มวิทยาศาสตร์
นักวิจัย นักดาราศาสตร์ นักพันธุศาสตร์ นักกีฏวิทยา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล นักธรณีวิทยา นักธรณีฟิสิกส์ นักอุตุนิยมวิทยา นักวัสดุศาสตร์ นักนิติวิทยาศาสตร์ โภชนากร นักปิโตรเคมี นักชีวเคมี

กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรการบิน วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเคมี วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรคอมพิวเตอร์

กลุ่มคณิตศาสตร์
นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย นักบัญชี นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักวิเคราะห์การเงิน ผู้จัดการกองทุน นักการธนาคาร นัก Logistic

กลุ่มเทคโนโลยี
นักออกแบบซอฟแวร์ กราฟฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบเว็บไซด์ โปรแกรมเมอร์ นักภูมิสารสนเทศ GIS นักเทคโนโลยีอวกาศ

กลุ่มอื่น ๆ
อาจารย์ นักบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ สถาปนิก มัณฑนากร นักผังเมือง

“STEM ต้องการคนเก่งคิด ไม่ใช่เพียงแค่เก่งทำข้อสอบ”
ใน แบบฝึกหัดชุดเสริมทักษะคิดสู่ STEM นี้จะมีแบบฝึกหัดเสริมทักษะ Logic, ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ, ฝึกการตีโจทย์และแก้ปัญหา และการคำนวณ ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่ผู้ปกครองและคุณครู สามารถพิมพ์ออกไปสอนในห้องเรียนได้เพื่อพัฒนาลูกและศิษย์ ให้เป็นคนชอบคิด ช่างสังเกต วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาได้ เป็นพื้นฐานในการเรียนสายวิทยาศาสตร์ต่อไป